วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร

ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยศิลปากร

  มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn University) เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดี ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา
ศิลปากร” เป็นนามที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัส ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2445 ว่า “กรมช่างอย่างปราณีตนั้นชื่อกรมศิลปากร โดยให้ผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน” อันทำให้ชื่อศิลปากรนี้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยศิลปากรมาจนทุกวันนี้
ประวัติ
มหาวิทยาลัยศิลปากร เดิมคือ โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ท่านศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับคุณพระสาโรช รัชตมินมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ท่านทั้งสองได้ก่อตั้งโรงเรียนปราณีตศิลปกรรมขึ้นในปีพ.ศ. 2476 ใช้พื้นที่วังกลางและวังตะวันออกในวังท่าพระใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนแห่ง นี้ เปิดสอนให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมาปีพ.ศ. 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์ ที่ตั้งอยู่วังหน้าไว้ด้วย และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนศิลปากร
โรงเรียนศิลปากรได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งพระยาอนุมานราชธนร่วมกับอาจารย์ศิลป์ พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 จัดตั้ง คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. 2498 อาจารย์ศิลป์ผลักดันให้เกิดคณะวิชาใหม่ คือ คณะสถาปัตยกรรมไทยซึ่งมี พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) คณะโบราณคดี วางรากฐานโดยหลวงบริบาล บุรีภัณฑ์ และต่อมาจึงมี คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะจิตรกรรมฯ
ปี พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะวิชาต่างๆออกไปอีกหลายแขนง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล คือ "มหาวิทยาลัยศิลปากรมีคณะสถาปัตยกรรมอยู่แล้วก็ควรจะเปิดคณะวิศวกรรมร่วมไป ด้วยจะได้ก้าวหน้าเร็วขึ้นหรือให้เปิดคณะดุริยางคศาสตร์ด้วย"
คณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2511
คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2513
คณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2515
คณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. 2529
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2535
คณะดุริยางคศาสตร์ขึ้น พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายเขตการศึกษาไปจัดตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ ที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อกระจายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี" จัดตั้ง
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. 2544
คณะวิทยาการจัดการ ในปี พ.ศ. 2545
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2546
และ วิทยาลัยนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2546
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายงานในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2515 โดยการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการ
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ตราสัญลักษณ์
พระ พิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ(เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 25 กรกฎาคม 2494
สีประจำมหาวิทยาลัย
เขียวเวอร์ริเดียน เป็นสีของน้ำทะเล
เพลงประจำมหาวิทยาลัย
Santa Lucia เป็นเพลงที่อาจารย์ศิลป์ชอบร้อง และฮัมเพลงนี้บ่อย ๆ


ที่มา : 
https://www.dek-d.com/board/view/1415022/

แผนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

ที่มาภาพ : http://www.eng.su.ac.th/ee/2012/projects/app_ee/images/engmap.jpg

ประวัติศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

ที่มาภาพ : http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/26306

ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

          ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรจี ( Professor Corrado Feroci ) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ. ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย 
          เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม เมื่อปีพ.ศ.2441ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปีจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียนซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
          ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้นรูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนาย คอร์ราโด เฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากรกระทรวงวัง
      
          เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 เมื่ออายุย่างเข้า32 ปีโดยได้รับเงินเดือนๆละ 800 บาทค่าเช่าบ้าน 80 บาท และต่อมาในปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาได้รับ เงินเดือนๆละ 900 บาทต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการ
          ท่านได้วางหลักสูตรอบรมกว้างๆและทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆส่วนมากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเพาะ- ช่างได้แก่ สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธิ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และ แช่ม แดงชมพู
      
          ผู้ที่มาอบรมฝึกงานกับศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่งเสริมช่างปั้นช่างหล่อให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน
      
          ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อทางราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบันจึงได้ขอให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป
          ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม " ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ.2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ
      
       จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือพระยาอนุมานราชธนดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรมและมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก ดังนั้นการเรียนการสอนศิลปะในสาขาวิชาศิลปะจึงเริ่มดำเนินการในระดับปริญญาขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
      
          ในปีพ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในต้นปีพ.ศ.2492โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม
      
          ในปีพ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่อันมีเกียรติ คือ เป็น ประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับ สมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปีพ.ศ.2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติ ครั้งแรกที่ประเทศออสเตรียท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย(Contemporary Art inThailand) ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วยทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้นและนับเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้น
          ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 70 ปี
ที่มา : www.manager.co.th

ประวัติหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ที่มาภาพ : http://teacher-kanokrat.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
ชีวประวัติ 
                ม.ล.ปิ่น มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 สืบเชื้อสายมาจากต้นราชสกุล มาลากุล ณ อยุธยา  คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอันประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี บิดามารดาของม.ล.ปิ่นคือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม (สกุลเดิม วสันตสิงห์)          
                ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) ไม่มีบุตรธิดา

ประวัติการศึกษา
          ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ณ สมัยนั้นเป็นโรงเรียนวัดราชบูรณะ) และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

         ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีกเลย
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471
            ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. 2498 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)

รับราชการ

        ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย

         หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2480 5 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2487 ท่านได้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ในปี พ.ศ. 2489 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

           หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นเวลายาวนานถึง 12 ปีเศษ

ผลงานด้านการศึกษา

1. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท โรงเรียนมัธยมสหศึกษา โรงเรียนแรกในประเทศไทย
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า "เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ"

2. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยวิชาการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในระดับประถมศึกษา
3. ริเริ่มตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ต่อมาเป็นวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประสานมิตร  และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในปัจจุบัน

4. ริเริ่มจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์(ทับแก้ว )และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำให้ประชากรในชนบทได้มีโอกาสเรียนถึงระดับอุดมศึกษา
สถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีในขณะนั้น มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่ หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๓ และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะวิศวกรรมมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ สาเหตุที่เลือกพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้
ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว
ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร
จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ.๒๕๐๑ ขณะที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีโครงการเกี่ยวกับการศึกษาโครงการหนึ่งชื่อว่า "โครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค" คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบ ได้มีการประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๒ ได้มติว่าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะประชากรส่วนใหญ่ก็สนับสนุน สภาพแวดล้อมก็เหมาะสม และได้เสนอเรื่องราวให้คณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติ ในที่สุด พ.ศ.๒๕๐๓ ก็ได้ดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ.๒๕๐๗ และเปิดอย่างเป้นทางการวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๐๘ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ 
พระบรมราชินีนาท ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีครั้งนี้

5 ริเริ่มจัดตั้งห้องสมุดเสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อรวบรวมวรรณกรรมร้อยแก้วด้านพระราชดำรัส พระบรมราโชวาทและปาฐกถาของผู้มีชื่อเสียงด้านต่าง ๆ 
6. พัฒนาการศึกษาหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาค โครงการพัฒนาการศึกษา และโครงการฝึกหัดครูชนบท ก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา 

7. ขยายงานของกรม กองต่าง ๆ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีด้านการศึกษาเข้ามาใช้ เช่น จัดตั้งวิทยุการศึกษา ท้องฟ้าจำลอง เป็นต้น

8. ก่อตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์เพื่อเป็นที่ระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นคลังสมบัติทางปัญญาในการค้นคว้ารวบรวมและเผยแพร่พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน
ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้ริเริ่ม เป็นกำลังสำคัญในการก่อกำเนิด หอวชิราวุธานุสรณ์ผู้เสียสละกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด และกำลังทรัพย์ บริจาค 1 ล้าน 6 แสนบาท เพื่อเชิดชูเกียรติภูมิของชาติ ให้เป็นศูนย์สรรพวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมในวงการศึกษายิ่งใหญ่
หอวชิราวุธานุสรณ์เป็นอาคารทรงไทยขนาดใหญ่ ณ บริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เพื่อเฉลิมฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 8 รอบ และ 100 พรรษา สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า องค์การยูเนสโก ยกย่องสดุดีทรงเป็นบุคคลสำคัญระดับโลก ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2524
ครั้งหนึ่งในชีวิต เกิดเหตุจลาจลเพื่อแย่งอำนาจรัฐบาล วันที่ 9 กันยายน 2528 หลังการประชุม ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ ม.ล.ปิ่นยังไม่กลับบ้าน มีผู้ถามท่านว่า...เหตุใดท่านจึงไม่กลับ เมื่อเหตุการณ์ไม่สงบท่านตอบว่า  หอวชิราวุธานุสรณ์...คือบ้านฉัน

9. จัดสร้างค่ายหลวงบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมความรู้และเป็นค่ายพักแรมหรือจัดกิจกรรมของเยาวชน

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/26306


เพลงประจำคณะ

เนื้อเพลง ศึกษาศาสตร์ศิลปากร

สมถวิลเมื่อศิลปากร
เปิดคณะขึ้นสอนการศึกษา
ให้เป็นถิ่นศิลปะวิทยา
เป็นแหล่งเร่งพัฒนาประชาไทย

ศึกษาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ปราชญ์สรรเสริญ
ว่าเหมือนจุดเทียนเดินนำสมัย
ศิษย์จะต้องมีครูอยู่เรื่อยไป
เพื่อชาติไทยก้าวหน้ากล้าแกร่งเอย

ศิลปากรเป็นอย่างไร

ศิลปากรเป็นอย่างไร ?

นี่แหละ...ศิลปากร

1. ตรามหาลัย คือ พระพิฆเณศวร ทั้งกระดุม เข็ม หัวเข็มขัด หัวติ้ง

2. สีประจำมหาลัย คือ สีเขียวเวอร์ริเดียน เป็นสีของน้ำทะเลที่ลึกมากๆ

3. ดอกไม้ประจำมหาลัย คือ ดอกแก้ว สามารถพบเห็นได้ที่สวนแก้ว กลางวังท่าพระ

4. เพลงประจำมหาลัย เป็นเพลงภาษาอิตาเลียน ชื่อว่า ซานต้า ลูเชีย

5. คณะแรกของมหาลัยฝั่งวังท่าพระ คือ คณะ จิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์

6. คณะแรกของมหาลัยฝั่งทับแก้ว คือ อักษรศาสตร์

7. คณะโบราณคดี เป็นคณะเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนที่นี้เพียงที่ 
เดียว

8.เคม ฟิ เเคล ก็เป็นวิชาที่เด็ก วิดยา กะ เทคโน(วิดวะ) ติด F มาก 
ที่สุด เทอมๆ นึง ก็หลายร้อยคนอยู่ มีผลให้ซิ่ว เปอร์ และไทร์ ตามลำดับ (ยำไทย) คือ วิชาที่เดกอักษรติดเอฟเยอะมากที่สุด และทำให้พลาดเกียรตินิยมด้วย

9.นอกจากสาขาวิชาทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่ศิลปากรมีชื่อ เสียงแล้ว  สาขาวิชาอื่นของศิลปากรที่ได้ชื่อว่าเรียนยากมาก และมีชื่อ 
เสียงระดับประเทศ ก็คือสาขาวิชาภาษาไทย (คณะโบราณคดี,คณะอักษรศาสตร์)***คณะสาวสวย     สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส (คณะโบราณคดี,คณะอักษรศาสตร์) **** สาขานี้ศิลปากรเจ๋งสุดๆ  สาขาวิชาเคมี (คณะวิทยาศาสตร์) *** เรียนยากที่สุดเเล้ว(เป็นที่ร่ำรือและโจษท์ขาน) สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ)

10. เพชรช้อป คือโรงอาหารอีกแห่งที่ทับแก้ว เป็นที่ยอดฮิต ในยามกลางวันเมื่อไม่มีที่ไปไหนจริง

11. อาร์ต อเวนิว ก้อมีอาหารอร่อย แต่รอนานโคตรๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆอยากกินต้องไม่มีเรียนบ่ายถึงจาเหมาะที่สุด

12. 7/11 กลางมหาลัย เปิดแอร์เย็นมาก เดินเข้าไปซื้อของแป็ปเดียวออกมาแว่นฝ้าเลย

13. อยากกินผลไม้ ต้องเจ๊ตุ่ม ยูเนี่ยน

14. เด็กคณะวาดรูป เรียกเพชรช้อปว่า ลานนม

15. ลานนม มาจากการที่ตั้งอยู่ใกล้ด้านหลังของหอห­ิง (หอ 4 )นั่งกินข้าวไป แหงนไป อ้าว เดินออกมาตากเสื้อใน เกงในซะงั้น

16. เพชรช้อปใหม่ เย็นสบายกว่าอันเก่า แต่นั่งกินข้าวที่นี้ไม้ช่เห็นตุ๊ดตู่เลย 

17. ตุ๊ดตู่ คือชื่อเล่นที่สุภาพของตัวเงินตัวทอง ที่คุณสามารถพบเห็นได้อย่างชุกชุมที่ทับแก้ว เพราะมีบ่อน้ำขนาดให­่มากๆกลางมหาลัย(สระแก้ว) 

18. ลานทรงพลของคณะอักษรศาสตร์ เดิมคือ ลานประหารในสมัยโบราณ

19. รับน้องชายของอักษร รับกันที่ลานทรงพลตอนกลางคืน

20. เอคือ ชื่อโรงละครใหม่ของอักษร แต่ตั้งอยู่ใกล้ ศึกษามากกว่า

21. โรงละครทรงพล คือโรงละครที่ศักดิ์สิทธิ์ของเด็กละครทุก คน

22. อารยธรรมไทย(ยำไทย) คือ วิชาที่เดกอักษรติดเอฟเยอะมากที่สุด ต่อรุ่น ตกประมาณ100-200คน จากจำนวนเด็กทั้งหมดในรุ่นที่มีประมาณไม่เกิน 800 คน

23. แดนสนธยา คือ ชื่อเรียกตึกคณะวาดรูปทั้ง 3 ที่อยู่หลังม. ได้แก่ จิตรกรรม มัณฑศิลป์ และสถาปัตยกรรม

24. ห้องอาหารใต้ตึกศิลป์ 1 ขายข้าวถูก ให้เยอะมากเหมือนกรรมกรกิน

25. สาวฮอตของท่าพระ คือ เด็กโบราณ ที่ ทับแก้วแน่นอน คือเด็กอักษร

26. ชนช้าง คือการเชียร์โต้ของคณะต่างๆ

27. อักษร มีชนช้างกับคณะฮอตของมหาลัย คือ จิตรกรรม ดุริยางค์ มัณฑศิลป์(ในยามที่เค้าว่าง)

28. มัณฑศิลป์มันยาวไป ใครๆก้อเรียกว่า เด็กเด็ค

29. เด็กจิตรกรรม เป็นหลีดทุกคน ชุดหลีดอลังการที่สุด ด้วยงบ ประมาณอันน้อยนิดจนไม่น่าเชื่อ

30. เด็กจิตรกรรมปีทรงผม การแต่งกาย  อาจคล้ายเด็กช่างกล+เด็กนักเรียนเตรียมทหาร

31. ลิฟท์ที่โบราณมีขนาดเล็กมาก ยืนกัน 3 คนก้อเต็มแล้ว

32. แถมด้วยบันได เดินสวนกันไหล่ก้อชนกัน

33. ศิลปากรวังท่าพระ เป็นมหาลัยที่มีเนื้อที่เล็กจนไม่น่าเชื่อว่ามีคณะอยู่ถึง 4 คณะ คือ โบราณ จิตรกรรม เด็ค และถาปัด

34. หอสมุดที่วังท่าพระ อยู่ชั้นใต้ดิน

35. ที่ทับแก้ว การจราจรวุ่นวายมากทั้งจักรยาน รถป็อป มอไซค์ และรถเก๋งที่วุ่นวายสุดๆ ต่างคนต่างขับมีปั­­าก้อหลบกันเอง

36. เปิดเทอมวันแรก รุ่นพี่ขับรถหลบรุ่นน้อง หลบไม่พ้นชนก้อเคยมาแล้ว

37. ซ.ลิตเติ้ลพาย คือซ.ที่มีหออยู่มากที่สุดในย่านหน้า ม. คือ นิยมไทย/ลิ้มฮกไถ่/ชยาทิพย์แมนชั่น/เวศฒ์วรุฒ/วีเจ/ลีลาเพลส/ริชแมนชั่น/อิน 
ไวท์/อินดี้/สนามจันทร์แมนชั่น ฯลฯ

38. หลังม.มีทางรถไฟ+กลิ่นขี้หมูเล็กน้อย

39. เด็กเด็ค คืออะไรที่สาวๆใฝ่ฝันหา ทั้งใน+นอกมหาลัย เอกที่เด่นดังคือ นิเทศน์ศิลป์ อินทีเรีย ประยุกต์ศิลป์ เซรามิก อะไรยังงี้

40. ถาปัด เวลารับน้องจะมีการแสดงที่แตกต่าง ใช้กลองที่ไม่เหมือนใคร+ไม่เคยมีใครฟังเพลงของเค้ารู้เรื่อง

41. หลีดอักษร อะไรที่ทุกคนอยากดู

42. ผู้ห­ญิงดุริยางค์ ใส่พลีตยาวคลุมตาตุ่มแทบทุกคน

43. หอนอก หอใน บางทีราคาเท่ากันเลย

44. เทวาลัยคเณศ ในพระราชวังสนามจันทร์ มองผ่านไปเห็นยอดองค์พระปฐมเจดีย์ที่สวยงาม

45. ร้านส้มตำพี่ยิ้มที่ เอ 2 อร่อยทุกอย่าง ยกเว้น ส้มตำ

46. ในช่วงเวลาใกล้สอบ ที่นั่งหอสมุดที่เคยรกร้าง จะถูกจับจองจนเต็มตั่งแต่ตอนที่หอสมุดเปิด

47. ศิลปากรนิยม มีเพียงเด็กจิตรกรรม+เด็กอักษรร้องเท่านั้น

48. ห้องแล็ปชั้น 2 ของตึก 50 ปี คณะอักษรศาสตร์ เคยมีคนผูกคอตายกับขื่อทีวีเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

49. อักษรมีศาลคณะที่ศักดิ์สิทธิ์ เดิมเป็นเพียงคณะเดียวที่มีศาล

50. เด็กแต่ละคณะมีบุคลิกที่แตกต่างกันสุดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

51. รับน้องรวม กีฬาเฟรชชี่ คือ เทสกาลหาคุ่ของเด็กทุกคน

52. งานลอยกระทงของมหาลัย พาแฟนมาลอยที่สระแก้ว---เลิกกัน  พาคนที่แอบชอบมาลอย---เป็นแฟนกัน แต่เห็นทีไร แอบชอบใครก้อเขยิบเข้าไปลอยใกล้ๆทุกที  แต่ก้อยังไม่ได้เป็นแฟนกัน

53. งานกิฟต์ คืองานขายของทำมือจากเด็กเด็ค ชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วสารทิศ ใครต่อใครก้อพากันมาเดิน(อย่าหลงคิดว่าของถูกนะคะ บางอย่างก้อแพงจังลดราคาบ้างดิ)

54. ศิลปากรมีทั้งหมด 4 ฝั่ง คือ วังท่าพระ (จิตรกรรม ถาปัด โบราณ เด็ค) ตลิ่งชัน (ดุริยางค์ มัลติ วาแตล) ทับแก้ว หรือพระราชวัง สนามจันทร์ (อักษร ศึกษา วิทยา วิดวะ เภสัช คณะวาดรูปในบางปี โรงเรียนสาธิต) เพชรบุรี ( ไอซีที สัตสาด การจัดการ)

55. ผู้ก่อตั้งมหาลัย คือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาเลียน

56. เพศที่สามสามารถแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาห­ิงได้ ทั้งมาเรียนและมาสอบ

57. ตึกกะทะ อาคารหอประชุมที่ดูยังงัยก้อม่ายเหมือนกะทะ

58. เรียนตึกกะทะทีไร ถ้าไม่เช็กชื่ออย่าหวังว่าจะโผล่ไป

59. สโนไวท์ คือ ร้านอาหารที่มีความนิยมมากที่ทับแก้วเด็กที่นั่นทุกคนต้องเคยไปกิน

60. ข้าวต้มหลังมอ ร้านข้าวต้มสุดคลาสสิก( อีกนัยคือโบราณมากๆ) ถูก อร่อย อิ่มมาก (หลังจากกินเสร็จใหม่ๆเท่านั้น)

61. จั๊กก้า คือ น้องจักรยาน

62. จันทร์พาเลส หอรวมที่หรูสุดในแถบนั่นแล้วมั้ง

63. สปอร์ตคอมเพล็กซ์ ชื่อดูหรูความจริงคือ ลากกว้างขนาดให­่ ที่มีแป้นบาสอยู่ 2 อัน เอาไว้ประดับสนามเวลาเตะบอล ไม่มีงานจริงๆเด็กส่วนให­่ไม่เคยเฉียดกรายไป

64. ตึกคณะสัตสาด เค้าว่ากันว่าสร้างผิดหลักฮ้วงจุ้ยอย่างแรง เด็กเรียกร้องให้หาอะไรมาเสริมดวงคณะด่วน

65. ที่เพชรบุรีไม่มีหอนอก

66. ยังไม่พอ 7/11ก้อไม่มี มีแค่ร้านขายของผู้ยึดครอง กลุ่มเป้าหมายทั้งมหาลัยเพียงร้านเดียว

67. ข่าวดี เทอมนี้หอที่นั่น อยู่ 5 คน

68. SMA หรือ สมา คือการประกวดวงดนตรีภายใน

69. สมา มันทุกปีมีกี่วันคนดูแน่นตลอด ทั้งๆเป็นช่วงใกล้สอบมากๆ

70. อกทก. ย่อมาจาก องค์การกระเทยทับแก้ว กระเทยทุกคนเป็นเมมเบอร์ฟรีตลอดชีพ จบไปก้อยังมีคนคิดถึงอยู่ตลอด

71. ยามกลางวันแทบจะไม่เคยเห็นพวกเด็กที่เรียนวาดรูป พระอาทิตย์ตกดินหรือเลยไปยันใกล้เช้านั่นแหละ คึกคักออกมาเผบโฉมกันเต็มไปหมด

72. ปีนี้(2550)มหาลัยครบรอบ 65 ปี

73. เด็กศิลปากร ไม่ได้เป็นเด็กแนวทุกคนนะคะ อย่าเหมารวม

74. ตลาดนัด -- ที่สังสรรค์+ช้อปปิ้งของเด็กทับแก้วทุกวันพุธ ขาดเธอไปเด็กที่นี่คงแย่

75. ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น คือคำขวั­ที่อยู่ในใจของเด็กศิลปากรทุกคน

76. วิดยามีซุปเปร์แมน แบทแมน โรบิ้น อะไรเทือกนี้ด้วยนะ

77. เทคโนก็มีแพนด้าและแมงปอ มีทรงผมแปลกและทำสีทองด้วย

78. โรงอาหารยูเนี่ยน คือ โรงอาหารกลางประจำมหาลัย  ที่ท่าพระแม่ค้าอยู่มาตั้งแต่เป็นพี่ จนปัจจุบันเป็นป้ากันทั้งหมดแล้ว (แนะนำให้กรมศิลป์มาจดทะเบียน)

79. ชั้นบนของโรงอาหารยูเนี่ยน คือ ที่ตั้งของสโมสรนักศึกษาประจำมหาลัย80.ประธานองค์การกระเทยทับแก้ว รู้สึกจะเป็นพี่คณะศึกษา

81.ลานนม มาจากการที่ตั้งอยู่ใกล้ด้านหลังของหอห­ิง (หอ 4 ) จริงๆแล้วเห็นของหอชายชัดกว่าน่ะ

82.หลีดอักษร-ศึกษาแข่งกันทุกปี เพลงเชียร์ก็ด้วย

83.ร้านข้าวแกงหน้าหอห­ิง(ไม่มีชื่อ แต่ตรงข้ามหอบ้านศิลป์)อร่อยดี

84.หอ 7ที่ทับแก้ว ดูวังเวงดี

85.เดกเทคโนคนเยอะมากกกกกกกก เป็นพันได้มั้ง

86.ติ้งกับเข็มขัด ของศึกษาเปลี่ยนทุกปี

87.มือกลองถาปัด สุดยอดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ท่าเต้นเดกสันฯเทคโนดวลกับเภสัชแล้วมันจริงๆ

88.ที่เขาเรียกว่าตึกกระทะเพราะว่าส่วนบนของอาคาร(หลังคาอ่ะ)มานเป็นหลุม เหมือนกระทะ

89.เด็กเภสัช เป็นคณะเดียวที่มีติ้งสีทอง(ถ้าได้รุ่นแล้ว) เม้าท์เสริมด้วยเข็มขัดแต่ละคณะหลายๆ คณะไม่เหมือนกัน ฝั่งท่าพระนั้นเหมือนกันทุกคณะ หอจันทร์พาเลสนั้นถึงจะหรู แต่อยู่หลัง ม.ประตูหลังม.ฝั่งทับแก้วนั้น ปีที่แล้วปิดสามทุ่มครึ่ง หาก ขี่จั๊กก้า นอกจากจะต้องแบกจั๊กข้ามทางรถไฟที่พาดผ่านหลังม.แล้วเมื่อประตูปิด ต้องอ้อมโลกกันกว่าจะถึงหอ เราอยู่หอเวศนิ แต่เคยอยู่จันทร์พาเลสหนึ่งคืน หรูเรื่องจริง แต่เหม็นขี้หมูก็เรื่องจริงก็อ้อมโลกและแบกจั๊กก็จริงข้าวต้มหลังหลังม. อร่อยและโบราณจริง แต่ถ้าขี่จั๊กไปหอบแด๊ก พอขี่กลับม.ข้าวต้มย่อยเสร็จพอดี หิวอีก นอกจากตลาดในม.วันพุธ ยังมีหน้าม.วันจันทร์ และโอเดียนวันพุธและอาทิตย์ ยังมีอื่นๆอีกมากมาย สัมผัสได้ที่ศิลปากร

ที่มา : http://www.f0nt.com/forum/index.php?topic=10452.0;wap2


สังคมของศึกษาศาสตร์ศิลปากร

ก่อนจะได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะ ขอบอกเลยว่าอยากเข้าเรียนที่นี่มากๆ เพราะว่าเคยแอบดูเฟซบุ๊กของพี่ๆคณะนี้มาก่อน ก็เลยได้เห็นว่าการเรียนเป็นยังไง เรียนวิชาอะไรบ้าง สังคมเพื่อนๆรุ่นพี่รุ่นน้องเป็นอย่างไร ตอนนั้นรู้สึกว่า นักศึกษาคณะนี้จะรู้จักกันทั้งหมดเลย ตั้งแต่น้องปี1 ถึง พี่ปี5 และทุกคนรักกันเหมือนพี่เหมือนน้อง สังเกตได้จากการโพสต์รูป อัพสเตตัส ตลอดจนการคอมเมนต์ต่างๆ ก็ทำให้อยากเรียนที่นี่ แต่พอได้มาเรียนจริงๆรู้สึกว่า ทุกอย่างดีกว่าที่คิดไว้เลย จากที่คิดว่าดีอยู่แล้ว ความจริงคือมันดีมากๆ ทุกคนที่นี่อยู่กันเป็นครอบครัวจริงๆ รุ่นหนึ่งจะมีประมาณ 400 คน ซึ่งถือว่าไม่เยอะ จึงทำให้รู้จักกันหมด และที่นี่จะมีกิจกรรมเยอะ ทำให้พวกเรามีโอกาสได้มาทำงานร่วมกันทั้ง 10 วิชาเอก และการทำงานก็จะได้รับการช่วยเหลือจากรุ่นพี่ สำหรับใครที่กลัวสังคมในมหาวิทยาลัย พี่ฟันธงว่า ที่นี่ไม่ทำให้หนูผิดหวังแน่นอน ทั้งสังคมเพื่อน สายรหัส รุ่นพี่รุ่นน้อง พี่รับประกันในความรักของพวกเรา และน้องจะได้เข้าใจคำว่า "ทับแก้วคือบ้าน ศึกษาศาสตร์คือครอบครัว" แน่นอนจ้า
ศึกษาศาสตร์ ศิลปากร รุ่นที่ 47 ( เธียรธารา )

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประวัติคณะศึกษาศาสตร์


คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ที่มาภาพ : http://www.educ.su.ac.th/index.php/th/2015-04-03-08-04-58/2015-04-03-08-05-54

   คณะศึกษาศาสตร์ ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2513 เป็นคณะวิชาลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะวิชาลำดับที่ 2 ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยมี ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีของมหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคนแรกของคณะฯ
   ในระยะแรก คณะศึกษาศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิต 4 สาขาวิชา คือภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขึ้น เพื่อเป็นสถานฝึกปฏิบัติการวิชาชีพสำหรับนักศึกษา และเป็นแหล่งทดลองนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนคณะศึกษาศาสตร์ได้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ซึ่งเปิดสอนทั้งหลักสูตรภาคปกติและหลักสูตรภาคพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศในวิชาชีพสากล เป็นผู้นำในการพัฒนาบุคลากร การวิจัย นวัตกรรมทางการศึกษา อนุรักษ์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคณะฯ ให้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นดีที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีศักยภาพในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และคุณธรรม ตลอดจนเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ

ฝากถึงน้องๆ ม.ปลาย

การเลือกคณะนั้นสำคัญไฉน ?
 
 ถ้าพูดถึงคำถามส่วนใหญ่ที่น้องๆ ม.ปลายจะต้องได้เจอกัน ก็คงไม่พ้น "จะต่อคณะไหน" พี่เชื่อว่าน้องๆหลายคนน่าจะมีคณะในใจอยู่แล้ว อันนี้พี่ดีใจด้วยนะจ๊ะ เพราะถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน ก็ถือได้ว่าประสบความสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว แต่ถ้าน้องๆคนไหนยังไม่รู้ตัวเองว่าโตขึ้นอยากจะประกอบอาชีพอะไร พี่แนะนำให้คิดได้แล้วน้า เพราะตอนนี้หนูอยู่ม.ปลายแล้ว ควรมีคณะในใจสักคณะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องๆ ม.6 วิธีการสังเกตตัวเองง่ายๆเลยคือ น้องลองถามตัวเองดูว่าเราชอบเรียนวิชาอะไร อยากทำงานเกี่ยวกับอะไร พี่ขอแนะนำว่าอย่าเลือกคณะตามเพื่อนนะน้อง เพราะถ้าหนูเลือกคณะที่หนูไม่ได้ชอบ นั่นหมายความว่าหนูจะต้องอยู่กับสิ่งที่หนูเลือกวันนี้ไปตลอดชีวิตเลย ดังนั้นต้องคิดดีๆนะ พี่ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนเลย สู้ๆนะคะ ☺
ที่มาภาพ : http://www.deviantart.com/tag/alwayskeepfighting

แนะนำบล็อก

♥ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ♥

ที่มาภาพ : https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&ved=&url=http%3A%2F%2Fmapio.net%2Fs%2F73588183%2
F&psig=AFQjCNFJO5e4IGnbvK_D9cWwvBHfEQqAag&u
st=1476169618336512
สวัสดีครับคุณผู้ฟังทั้งหลายทั้งชายและหญิง พวกเราคนจริงเรามันเด็กศึกษาเรามา say hi กัน☺
สวัสดีคุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านนะคะ :) บล็อกนี้เป็นบล็อกที่จัดขึ้นเพื่อรีวิวคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจในคณะนี้ สามารถอ่านรีวิวจากนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์แห่งนี้ได้เลยค่่าาา ☻♥